เรื่องทั่วไป M-Pass

  • M-Pass คืออะไร ?
  • M-PASS คือ ระบบเก็บเงินค่าผ่านทางอัตโนมัติบนทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง ที่กรมทางหลวง โดยกองทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง นำมาให้บริการเพื่อลดปัญหาการจราจรหนาแน่นหน้าด่านเก็บเงินค่าธรรมเนียมผ่านทางและเสริมสร้างความสะดวกสบายในการเดินทางให้กับประชาชน โดยมอบหมายและร่วมมือกับธนาคารกรุงไทยในการดูแลผู้ใช้บริการ ทั้งในด้านการกระจายบัตร การเติมเงิน ตรวจสอบดูแลบัญชี และบริหารจัดการธุรกรรมทางด้านการเงิน
  • จุดเด่นของบัตร M-Pass มีอะไรบ้าง ?
    • ช่วยประหยัดเวลา ผู้ขอใช้บริการจะได้รับความสะดวกและช่วยประหยัดเวลา ในการเข้าใช้บริการผ่านทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง หมายเลข 7 (กรุงเทพฯ-ชลบุรี) และทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง หมายเลข 9  (ช่วงบางปะอิน – บางนา)
    • บัตร M-Pass มี 2 กระเป๋าในบัตรเดียว ใช้ได้ทั้งการเดินทางและจับจ่ายซื้อสินค้าและบริการ ได้แก่
      • กระเป๋า M-Pass (ค่าผ่านทาง) ใช้เติมเงินและชำระค่าผ่านทางพิเศษระหว่างเมืองของกรมทางหลวง
      • กระเป๋า e-Money (เงินอิเล็กทรอนิกส์) ใช้เติมเงินและทำธุรกรรมทางการเงินผ่านเครื่อง ATM
      • และสามารถซื้อสินค้าและบริการตามร้านค้าที่มีสัญลักษณ์ VISA ทั่วประเทศ
      • ฟรีค่าธรรมเนียมเติมเงินทุกช่องทาง โดยผู้ขอใช้บริการสามารถเติมเงินเข้าบัตร ผ่านช่องทางธนาคารกรุงไทยทุกสาขากว่า 1,200 สาขา ตู้ ATM กว่า 10,000 ตู้ทั่วประเทศ และทาง KTB netbank
      • ฟรีค่าธรรมเนียมในการทำรายการข้ามเขต ผ่านเครื่อง ATM ธนาคารกรุงไทย
      • ฟรีค่าธรรมเนียมรายงานสรุปรายการผ่านทาง (Statement) รายเดือน เดือนละ 1 ครั้ง โดยจัดส่งให้ผู้ใช้บริการทางไปรษณีย์ตามที่อยู่ที่ลงทะเบียนไว้
      • ฟรีบริการ SMS แจ้งผู้ใช้บริการ เมื่อเงินคงเหลือในบัตร M-Pass น้อยกว่า 200 บาท และ 60 บาท
  • M-Pass ใช้ได้ที่ไหน ?
  • ทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์)
    - ทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 7 (กรุงเทพฯ-ชลบุรี)
    - ทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 9 (ถนนวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานครด้านตะวันออก: บางปะอิน-บางนา)
    - ทางด่วนทุกเส้นทาง
  • ควรเตรียมตัวเข้าช่องทางใดเพื่อใช้งาน M-Pass?
  • M-Pass ได้ติดตั้งอยู่ในช่องทางขวาสุดของทุกอาคารด่าน (Canopy)
  • ช่อง M-Pass มีกี่ช่องทาง/ด่าน ?
  • ในระยะแรกกรมทางหลวงจะเปิดให้บริการช่องอัตโนมัติ (M-Pass) 1 ช่องทาง เพื่อให้กระทบกับการหยุดรถของด่านเก็บเงินน้อยที่สุด และเมื่อมีลูกค้ามาใช้บริการมากขึ้นในอัตราที่เหมาะสม กรมทางหลวงจะพิจารณาเปิดช่องทาง M-Pass เพิ่มขึ้น ซึ่งได้มีการเตรียมความพร้อมไว้รองรับพร้อมแล้ว
  • รถที่ติดทั้ง TAG M-Pass และ Easy Pass แล้วควรจะทำอย่างไรหลังจากวันที่ 30 ตุลาคม 2559 ที่ผู้ใช้ทางติด TAG เพียงอันเดียวก็สามารถผ่านทางได้ทั้ง 2 สายทาง
  • ตั้งแต่หลังเที่ยงคืนของวันที่ 31 ตุลาคม 2559 (เช้าวันที่ 1 พฤศจิกายน 2559) ผู้ใช้ทางติดTag M-Pass เพียงอันเดียวสามารถชำระค่าผ่านทางได้ทั้งทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง และทางพิเศษ ดังนั้นผู้ใช้ทางไม่จำเป็นต้องติด TAG 2อันอีกต่อไป และแนะนำให้ติด TAG เพียงอันเดียวเท่านั้น
  • กรณีรถติดทั้ง TAG M-Pass และ Easy Pass แล้ววิ่งเข้าด่านเก็บเงิน ระบบจะตัดยอดเพื่อชำระเงินอย่างไร
  • ระบบจะตัดยอดเงินเพื่อชำระเงินค่าผ่านทางจาก TAG ที่ระบบติดต่อได้ก่อนเพียงอันเดียว ถ้าจำนวนเงินคงเหลือใน TAG ที่ระบบติดต่อได้ไม่เพียงพอต่อการชำระเงิน ผู้ใช้ทางจะไม่สามารถผ่านทางได้ถึงแม้ว่า TAG อีกอันมีเงินคงเหลือเพียงพอที่จะผ่านทางก็ตาม ดังนั้น ผู้ใช้ทางควรจะติด TAG เพียงอันเดียวเท่านั้น
  • ช่องทางการติดต่อและสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมมีอะไรบ้าง ?
  • • Web Site เพื่อให้บริการ M-Pass : www.ThaiM-Pass.com
  • • M-Pass Call Center ตลอด 24 ชั่วโมง โทร. 1586 กด 9
  • • โทร. 02-111-1111
  • กรณีต้องการเปลี่ยนแปลงข้อมูลผู้ถือบัตร / ชำรุด / สูญหาย / ขอยกเลิก / ขอคืนเงินต้องทำอย่างไร ?
  • ติดต่อธนาคารกรุงไทย 120 สาขา คลิกเพื่อตรวจสอบรายชื่อสาขา
** M-Pass ใช้ได้เฉพาะรถ 4 ล้อ เท่านั้น

การสมัครบัตร M-Pass

  • สมัคร M-Pass ได้ที่ไหนบ้าง ?
  • สมัครและรับบัตร M-Pass ได้ทันที
    • ธนาคารกรุงไทย 120 สาขา (สามารถเข้าดูรายชื่อสาขาได้ที่นี่)
    • Service Area ขาออก (ระหว่างเวลา 8.30 –16.30 น.) บนทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง หมายเลข 7 (กรุงเทพฯ-ชลบุรี)
    • ผ่านจุดบริการด่านทับช้าง 2 (ระหว่างเวลา 8.30 น.-19.00 น.) บนทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง หมายเลข 9 (ช่วงบางปะอิน-บางนา)สมัครและจัดส่งบัตร M-PASS ทางไปรษณีย์ให้ถึงบ้านภายใน 2 สัปดาห์ โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายในการจัดส่ง
    • ธนาคารกรุงไทยทั่วประเทศ กว่า 400 สาขา (สามารถเข้าดูรายชื่อสาขาได้ที่นี่)
    • KTB netbank
  • เอกสาร ในการสมัครมีอะไรบ้าง ?
  • บุคคลธรรมดา ใช้สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือ สำเนาหนังสือเดินทาง (Passport) โดย 1 คน สมัครได้สูงสุด 2 บัตร
  • ประเภทนิติบุคคล ไม่จำกัดจำนวนบัตร โดยใช้หลักฐานดังต่อไปนี้
    • หนังสือรับรองจดทะเบียนนิติบุคคล
    • สำเนาบัตรประชาชนผู้มีอำนาจลงลายมือชื่อ
    • หนังสือมอบอำนาจและสำเนาบัตรประชาชนผู้รับมอบอำนาจ (กรณีมอบอำนาจช่วง)
  • สมัคร M-Pass ต้องมีบัญชีของธนาคารกรุงไทยหรือไม่ ?
  • ไม่ต้องมีบัญชีของธนาคารกรุงไทยก็สามารถสมัคร M-Pass ได้
  • มีค่าธรรมเนียมในการสมัครหรือไม่?
  • ฟรี เมื่อเติมเงินครั้งแรก 1,000.- บาท/บัตร
  • สมัคร M-Pass แล้วได้อะไรบ้าง ?
  • กล่องบรรจุอุปกรณ์ ด้านในประกอบด้วย
    • บัตร M-PASS (e-Money) สำหรับใช้การเติมเงิน และการทำธุรกรรม
    • TAG สำหรับติดกระจกรถยนต์ พร้อมขาตั้งและผ้าเช็ดกระจก
    • คู่มือการใช้งานระบบเก็บเงินค่าธรรมเนียมผ่าานทางอัตโนมัติ M-Pass และข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้บริการ บัตรเงินอิเล็กทรอนิกส์ (KTB e-Money Card)
    • ซองรหัสผ่าน (PIN Mailer) ใช้สำหรับทำธุรกรรมทางการเงินผ่านเครื่อง ATM
  • อยากให้มีช่องทางสมัครใช้งาน และเติมเงิน M-Pass มากกว่านี้ ?
  • กรมทางหลวงและธนาคารกำลังร่วมกันพิจารณาขยายพื้นที่ให้ครอบคลุมความต้องการของลูกค้าให้มากขึ้นรองรับความต้องการใช้ M-Pass ในอนาคต
  • สามารถสมัครใช้งาน M-Pass ได้คนละไม่เกินกี่ใบ ?
  • - บุคคลทั่วไป สามารถสมัครใช้ได้ 2 ใบ
    - นิติบุคคล สามารถสมัครใช้บริการได้ไม่จำกัดจำนวน
  • การติดตั้ง TAG M-Pass ทำได้อย่างไร ?
    • ตรวจสอบว่า Tag M-Pass ได้ประกอบเข้ากับขายึดเรียบร้อยแล้ว
    • หันด้านที่มีขายึดเป็นแถบกาว (ซึ่งเป็นด้านที่รับ-ส่งสัญญาณ) เข้าหากระจกหน้ารถยนต์
    • หาตำแหน่งที่เหมาะสม โดยทดลองเทียบ Tag M-Pass กับกระจกหน้ารถยนต์โดยยังไม่ลอกสติกเกอร์ออก โดยควรติดตั้งบริเวณที่อยู่ด้านหลังของกระจกมองหลังและไม่รบกวนสายตาผู้ขับขี่
    • ก่อนติดตั้งควรทำความสะอาดกระจกบริเวณที่ต้องการติด Tag M-Pass ต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่ากระจกแห้งสนิท
    • ลอกกระดาษสติกเกอร์ออกจากขายึด และติด Tag M-Pass ที่กระจกหน้ารถยนต์ กดให้แน่นไว้ประมาณ 10 วินาที อย่าถอด Tag M-Pass ออกจากขายึดเป็นเวลาอย่างน้อย 24 ชั่วโมง
  • หมายเหตุ: หากลูกค้ามีบัตรทั้งสองประเภท ควรเลือกใช้บัตรเพียงใบเดียวในการผ่านทาง
  • วิธีการใช้งาน M-Pass ?
  • ช่อง M-Pass ในช่วงเริ่มต้นจะมี 1 ช่องทาง ในแต่ละด่านเก็บเงินค่าผ่านทางช่องขวาสุด โดยการผ่านช่องทาง M-Pass นั้นมีขั้นตอนดังต่อไปนี้
    • ผู้ใช้บริการสามารถวิ่งผ่าน Booth ด้วยความเร็ว 30 กิโลเมตรต่อชั่วโมง  
    • ต้องมีระยะห่างระหว่างรถ 5 เมตร
    • ที่ Booth จะมีเครื่องแสดง ค่าผ่านทางที่ใช้บริการ (ไม่ได้แสดงเงินที่เหลือ)

การเติมเงินบัตร M-Pass

  • ช่องทางในการเติมเงินเข้าบัตร M-Pass มีช่องทางใดบ้าง
    • สาขาของธนาคารกรุงไทย (ไม่คิดค่าธรรมเนียม)
    • เครื่อง ATM/ADM ของธนาคารกรุงไทย (ไม่คิดค่าธรรมเนียม)
    • KTB netbank (กรณีเป็นลูกค้า netbank ของธนาคารกรุงไทย และไม่คิดค่าธรรมเนียม)
    • KTB Auto Top-up บริการตัดเงินจากบัญชีเงินฝากธนาคารกรุงไทย เพื่อเติมเงินในบัตร M-PASS ให้อัตโนมัติ
    • ตู้บุญเติม เติมเงิน M-PASS ได้ 2อัตรา คือ 500/1,000 บาท คิดค่าธรรมเนียมการเติมเงิน 20 บาท (ตู้หน้า 7-Eleven,Tescolotus,BTS ไม่สามารถใช้บริการนี้ได้)
    • ตัวแทนเติมเงินอื่นอีกมากมาย เร็วๆนี้
  • เงื่อนไขการเติมเงินในบัตร M-Pass
  • เติมเงินเข้ากระเป๋า M-Pass (กระเป๋าค่าผ่านทาง)   
    • หมายเลขอ้างอิง (Ref.No.) ในการเติม ใช้หมายเลข M-Pass No.  หลังบัตร 10 หลัก
    • เติมเงินครั้งแรกขั้นต่ำ 1,000 บาท
    • เติมเงินครั้งต่อไป ขั้นต่ำ 500 บาท และอัตราเพิ่มในแต่ละระดับที่ 500 เช่น 1,000 1,500 2,000 เป็นต้น         
    • จำกัดวงเงินสูงสุดไม่เกิน 5,000 บาทต่อครั้ง
    • วงเงินเติมรวมสูงสุดไม่เกิน 10,000 บาท
  • เติมเงินเข้ากระเป๋า e-Money (เงินอิเล็กทรอนิกส์)  
    • หมายเลขอ้างอิง (Ref.No.) ในการเติม ใช้หมายเลขหน้าบัตร 16 หลัก  (4848-XXXX-XXXX-XXXX)
    • เติมเงินขั้นต่ำ 100 บาท สูงสุดไม่เกิน 30,000 บาท ต่อวัน
    • ไม่จำกัดจำนวนครั้ง และจำนวนเงินต่อครั้ง 
  • ถ้าลูกค้าไม่มีบัญชีธนาคารกรุงไทยสามารถเติมเงินผ่านตู้ ATM หรือตู้ ADM ได้หรือไม่ ต้องดำเนินการอย่างไร
    • สามารถเติมเงินเข้ากระเป๋า M-PASS ผ่านตู้ ATM/ADM ได้ โดยโอนเงินจากบัตร M-PASS (e-Money)
    • กรณีไม่มีตัวบัตร M-Pass(e-Money) สามารถเติมเงินค่าผ่านทางได้ไหมด้วยวิธีใดได้ โดยลูกค้าสามารถระบุ M-Pass Number หลังบัตร 10 หลัก แต่หากไม่ทราบสามารถติดต่อสาขา หรือ Call Center เพื่อสอบถามข้อมูล โดยลูกค้าต้องแจ้ง ชื่อ และนามสกุล หรือ หมายเลขบัตรประชาชน หรือ หมายเลขโทรศัพท์อย่างใดอย่างหนึ่ง เจ้าหน้าที่จะสามารถหาข้อมูลของลูกค้าได้เช่นกัน เมื่อลูกค้ามีข้อมูลดังกล่าวแล้ว สามารถเติมเงินได้ผ่าน ATM / ADM สาขา และ netbank (กรณีที่เป็นลูกค้า netbank)
  • สามารถโอนเงินจากกระเป๋า e-Money ไปยังกระเป๋า M-Pass ได้ไหม ?
  • สามารถทำได้ โดยลูกค้าสามารถทำรายการผ่านช่องทาง ATM ของธนาคารกรุงไทยเท่านั้น
  • สามารถโอนเงินจากกระเป๋า M-Pass ไปยังกระเป๋า e-Money ได้ไหม ?
  • ไม่สามารถทำได้
  • กระเป๋า e-Money ในบัตร M-Pass สามารถถอนเงินหรือโอนเงินจาก ATM อื่น และถอนเงินหรือโอนเงินจากบัญชีธนาคารอื่นได้หรือไม่ ?
  • e-Money สามารถถอน / โอน และทำธุรกรรมทางการเงินผ่านเครื่อง ATM KTB และต่างธนาคารได้ 40,000 กว่าเครื่อง แต่โอนเงินจากบัญชีธนาคารอื่นเข้าบัตร M-PASS (e-Money) ไม่ได้
  • ลูกค้าสามารถเติมเงินบัตร M-Pass ผ่านธนาคารและร้านสะดวกซื้ออื่นๆได้หรือไม่ ?
  • ปัจจุบันสามารถเติมเงินผ่านตู้บุญเติมหรือบุญเติมเคาน์เตอร์เซอร์วิสได้แล้ว* และเร็วๆนี้จะเปิดให้บริการผ่านธนาคารและตัวแทนรับชาระอื่นอีกมากมาย

    *ยกเว้นตู้บริเวณ 7-Eleven, Tesco Lotus และ BTS
  • ทำไมไม่ให้เติมเงินได้ที่บริเวณด่านหรือในสายทาง ?
  • เนื่องจากลักษณะทางกายภาพของบริเวณพื้นที่หน้าอาคารควบคุมด่านฯของมอเตอร์เวย์เป็นลักษณะคอขวด ทำให้ไม่สามารถรองรับการจอดรถหน้าอาคารควบคุมด่านฯเพื่อเติมเงินได้ อีกทั้งยังเป็นการกีดขวางทางจราจรและอาจจะเกิดอันตรายกับผู้ใช้บริการในการขับรถตัดกระแสการจราจรบริเวณหน้าอาคารควบคุมด่าน
  • การเติมเงินมีค่าธรรมเนียมหรือไม่ ?
  • ฟรีค่าธรรมเนียม เมื่อเติมเงินผ่านธนาคารกรุงไทยทุกช่องทาง
    - ธนาคารกรุงไทยกว่า 1,200 สาขาทั่วประเทศ
    - เครื่อง ATM ธนาคารกรุงไทยกว่า 9,000 เครื่อง
    - KTB netbank หรือ KTB Corporate Online
    - KTB Auto Top-up

    ค่าธรรมเนียมรายการละ 20 บาท เมื่อเติมเงินผ่านตู้บุญเติมและบุญเติมเคาน์เตอร์เซอร์วิส
  • การเติมเงินในกรณีต่างๆ
  • การเติมเงินเข้ากระเป๋า M-Pass
    • กรณีที่ 1: ไม่มีบัญชีธนาคารกรุงไทย
      • ท่านสามารถเติมเงินสดเข้ากระเป๋า M-Pass ได้ที่ธนาคารกรุงไทย 1,200 สาขาทั่วประเทศ
      • ท่านสามารถโอนเงินจากกระเป๋า e-money เข้ากระเป๋า M-Pass ได้ผ่านช่องทาง ATM KTB และ ADM KTB มากกว่า 10,000 ตู้ทั่วประเทศ
      • ท่านสามารถให้ผู้ที่มีบัญชี KTB เติมเงินเข้ากระเป๋า M-Pass ของท่านได้ผ่านช่องทาง ธนาคารกรุงไทย 1,200 สาขาทั่วประเทศ /ตู้ ATM KTB และ ADM KTB มากกว่า 10,000 ตู้ / netbank
    • กรณีที่ 2: ไม่มีสมุดบัญชีธนาคารกรุงไทย แต่มีบัญชี KTB netbank
      • ท่านสามารถเติมเงินสดเข้ากระเป๋า M-Pass ได้ที่ธนาคารกรุงไทย 1,200 สาขาทั่วประเทศ
      • ท่านสามารถโอนเงินจากกระเป๋า e-money เข้ากระเป๋า M-Pass ได้ผ่านช่องทาง ATM KTB และ ADM KTB มากกว่า 10,000 ตู้ทั่วประเทศ
      • ท่านสามารถให้ผู้ที่มีบัญชี KTB เติมเงินเข้ากระเป๋า M-Pass ของท่านได้ผ่านช่องทาง ธนาคารกรุงไทย 1,200 สาขาทั่วประเทศ /ตู้ ATM KTB และ ADM KTB มากกว่า 10,000 ตู้ / netbank
      • ท่านสามารถเติมเงินจากบัญชี KTB netbank เข้ากระเป๋า M-Pass ของท่านได้
    • กรณีที่ 3: มีสมุดบัญชีธนาคารกรุงไทย + ไม่มีบัตร ATM KTB + มี KTB netbank
      • เหมือนกรณีที่ 2
    • กรณีที่ 4: มีสมุดบัญชีธนาคารกรุงไทย และ มีบัตร ATM KTB
      • ท่านสามารถเติมเงินสดเข้ากระเป๋า M-Pass ได้ที่ธนาคารกรุงไทย 1,200 สาขาทั่วประเทศ
      • ท่านสามารถโอนเงินจากกระเป๋า e-money เข้ากระเป๋า M-Pass ได้ผ่านช่องทาง ATM KTB และ ADM KTB มากกว่า 10,000 ตู้ทั่วประเทศ
      • ท่านสามารถให้ผู้ที่มีบัญชี KTB เติมเงินเข้ากระเป๋า M-Pass ของท่านได้ผ่านช่องทาง ธนาคารกรุงไทย 1,200 สาขาทั่วประเทศ /ตู้ ATM KTB และ ADM KTB มากกว่า 10,000 ตู้ / netbank
      • ท่านสามารถเติมเงินเข้ากระเป๋า M-Pass ของท่านจากบัตร ATM KTB ได้ที่ตู้ ATM KTB และ ADM KTB มากกว่า 10,000 ตู้
    • กรณีที่ 5: มีบัญชีธนาคารกรุงไทย และ มีบัตร ATM KTB + มี KTB netbank
      • ท่านสามารถเติมเงินสดเข้ากระเป๋า M-Pass ได้ที่ธนาคารกรุงไทย 1,200 สาขาทั่วประเทศ
      • ท่านสามารถโอนเงินจากกระเป๋า e-money เข้ากระเป๋า M-Pass ได้ผ่านช่องทาง ATM KTB และ ADM KTB มากกว่า 10,000 ตู้ทั่วประเทศ
      • ท่านสามารถให้ผู้ที่มีบัญชี KTB เติมเงินเข้ากระเป๋า M-Pass ของท่านได้ผ่านช่องทาง ธนาคารกรุงไทย 1,200 สาขาทั่วประเทศ /ตู้ ATM KTB และ ADM KTB มากกว่า 10,000 ตู้ / netbank
      • ท่านสามารถเติมเงินจากบัญชี KTB netbank เข้ากระเป๋า M-Pass ของท่านได้
      • ท่านสามารถเติมเงินเข้ากระเป๋า M-Pass ของท่านจากบัตร ATM KTB ได้ที่ตู้ ATM KTB และ ADM KTB มากกว่า 10,000 ตู้
  • การเติมเงินเข้ากระเป๋า e-money
    • กรณีที่ 1: ไม่มีบัญชีธนาคารกรุงไทย
      • ท่านสามารถเติมเงินสดเข้ากระเป๋า e-money ได้ที่ธนาคารกรุงไทย 1,200 สาขาทั่วประเทศ
      • ท่านสามารถเติมเงินสดเข้ากระเป๋า e-money ผ่านตู้ ADM KTB ได้
      • ท่านสามารถให้ผู้ที่มีบัญชี KTB เติมเงินเข้ากระเป๋า e-money ของท่านได้ผ่านช่องทาง ธนาคารกรุงไทย 1,200 สาขาทั่วประเทศ /ตู้ ATM KTB และ ADM KTB มากกว่า 10,000 ตู้ / netbank
    • กรณีที่ 2: ไม่มีสมุดบัญชีธนาคารกรุงไทย แต่มีบัญชี KTB netbank
      • ท่านสามารถเติมเงินสดเข้ากระเป๋า e-money ได้ที่ธนาคารกรุงไทย 1,200 สาขาทั่วประเทศ
      • ท่านสามารถเติมเงินสดเข้ากระเป๋า e-money ผ่านตู้ ADM KTB ได้
      • ท่านสามารถให้ผู้ที่มีบัญชี KTB เติมเงินเข้ากระเป๋า e-money ของท่านได้ผ่านช่องทาง ธนาคารกรุงไทย 1,200 สาขาทั่วประเทศ /ตู้ ATM KTB และ ADM KTB มากกว่า 10,000 ตู้ / netbank
      • ท่านสามารถเติมเงินจากบัญชี KTB netbank เข้ากระเป๋า e-money ของท่านได้
    • กรณีที่ 3: มีสมุดบัญชี KTB + ไม่มีบัตร ATM KTB + มี KTB netbank
      • เหมือนกรณีที่ 2
    • กรณีที่ 4: มีสมุดบัญชีธนาคารกรุงไทย และ มีบัตร ATM KTB
      • ท่านสามารถเติมเงินสดเข้ากระเป๋า e-money ได้ที่ธนาคารกรุงไทย 1,200 สาขาทั่วประเทศ
      • ท่านสามารถเติมเงินสดเข้ากระเป๋า e-money ผ่านตู้ ADM KTB ได้
      • ท่านสามารถให้ผู้ที่มีบัญชี KTB เติมเงินเข้ากระเป๋า e-money ของท่านได้ผ่านช่องทาง ธนาคารกรุงไทย 1,200 สาขาทั่วประเทศ /ตู้ ATM KTB และ ADM KTB มากกว่า 10,000 ตู้ / netbank
      • ท่านสามารถเติมเงินเข้ากระเป๋า e-money ของท่านจากบัตร ATM KTB ได้ที่ตู้ ATM KTB และ ADM KTB มากกว่า 10,000 ตู้
    • กรณีที่ 5: มีบัญชีธนาคารกรุงไทย และ มีบัตร ATM KTB + มี KTB netbank
      • ท่านสามารถเติมเงินสดเข้ากระเป๋า e-money ได้ที่ธนาคารกรุงไทย 1,200 สาขาทั่วประเทศ
      • ท่านสามารถเติมเงินสดเข้ากระเป๋า e-money ผ่านตู้ ADM KTB ได้
      • ท่านสามารถให้ผู้ที่มีบัญชี KTB เติมเงินเข้ากระเป๋า e-money ของท่านได้ผ่านช่องทาง ธนาคารกรุงไทย 1,200 สาขาทั่วประเทศ /ตู้ ATM KTB และ ADM KTB มากกว่า 10,000 ตู้ / netbank
      • ท่านสามารถเติมเงินจากบัญชี KTB netbank เข้ากระเป๋า e-money ของท่านได้
      • ท่านสามารถเติมเงินเข้ากระเป๋า e-money ของท่านจากบัตร ATM KTB ได้ที่ตู้ ATM KTB และ ADM KTB มากกว่า 10,000 ตู้

การตรวจสอบยอดเงิน M-Pass

  • ผู้ใช้บริการสามารถตรวจสอบยอดเงินคงเหลือและรายการผ่านทางในกระเป๋า M-Pass ได้ทางไหนบ้าง ?
    • 1) M-Pass Call Center ตลอด 24 ชั่วโมง โทร. 1586 กด 9 หรือ 02-111-1111 กด 0
    • 2) เว็บไซต์ : www.ThaiM-Pass.com
    • 3) M-Pass Mobile Application (เริ่มให้บริการในเดือนพฤศจิกายน 2559)
  • ผู้ใช้บริการสามารถตรวจสอบยอดเงินคงเหลือในบัตร M-Pass e-Money ได้ที่ช่องทางใดบ้าง ?
    • 1)  ธนาคารกรุงไทยทุกสาขา
    • 2)  เครื่อง ATM / ADM ของธนาคารกรุงไทยและต่างธนาคาร
    • 3)  M-Pass Call Center ตลอด 24 ชั่วโมง โทร. 02-111-1111
  • ผู้ใช้บริการจะขอออกใบเสร็จรับเงินค่าผ่านทางมอเตอร์เวย์ และใบกำกับภาษีค่าผ่านทางพิเศษ ได้อย่างไร ?
    • 1)ผู้ถือบัตร M-Pass สามารถเข้าไปดาวน์โหลด ใบเสร็จรับเงินค่าผ่านทางโดยไม่มีค่าใช้จ่ายได้ที่เว็บไซต์ www.ThaiM-Pass.com
    • 2)กรณีผู้ถือบัตร M-Pass วิ่งผ่านทางทางพิเศษ สามารถขอรับใบกำกับภาษีได้ดังนี้
      ช่วงเวลาการขอรับใบกำกับภาษี สามารถขอรับได้เดือนละ 2 ครั้ง คือ
      - ครั้งที่ 1 : รายการที่ผ่านทางวันที่ 1-15 ขอรับได้วันที่ 16-19 ของเดือนถัดไป
      - ครั้งที่ 2 : รายการที่ผ่านทางวันที่ 16-31 ขอรับได้วันที่ 1-4 ของเดือนถัดไป
    • 3)สถานที่การขอรับใบกำกับภาษี สามารถขอรับได้ที่
      - อาคารด่านเก็บค่าผ่านทางพิเศษ : ตั้งแต่เวลา 05.00-22.00น.
      - ศูนย์บริการที่เดียวเบ็ดเสร็จ (สำนักงานใหญ่) : วันจันทร์-วันศุกร์ เวลา 08.30-15.30น.(เว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์)
      - ศูนย์บริการลูกค้า Easy Pass Fast Service (สถานีบริการน้ำมัน ปตท.บางนา-ขาออก) : วันจันทร์-วันเสาร์ เวลา 09.30-15.30น.(เว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์)
    • 4)หลักฐานการขอรับใบกำกับภาษี ได้แก่
      - บุคคลธรรมดา : ยื่นบัตร M-Pass / TAG M-Pass หรือบัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าของบัตร M-Pass อย่างใดอย่างหนึ่ง
      - นิติบุคคล : ยื่นบัตร M-Pass / TAG M-Pass หรือหนังสือรับรองพร้อมระบุหมายเลขบัตร M-Pass / TAG M-Pass อย่างใดอย่างหนึ่ง
  • ถ้าผู้ใช้ทางต้องการเข้าไปรับรายงานสรุปการผ่านทางรายเดือน / ใบเสร็จรับเงิน M-Pass ที่สาขาธนาคารกรุงไทย ได้หรือไม่ ?
  • ไม่สามารถทำได้ โดยผู้ใช้ทางสามรถดาวน์โหลด รายงานสรุปการผ่านทางรายเดือน / ใบเสร็จรับเงิน M-Pass ได้ที่เว็บไซต์ www.ThaiM-Pass.com โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
  • ถ้าผู้ใช้บริการต้องการขอสรุปรายละเอียดรายการใช้จ่ายในกระเป๋า M-Pass e-Money ที่สาขาของธนาคารกรุงไทย  เพื่อเช็คยอดค่าใช้จ่าย ได้หรือไม่ ?
  • สามารถทำได้ โดยผ่านสาขาของธนาคาร โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
  • เมื่อยอดเงินในบัตร M-Pass ใกล้หมด จะรู้ได้อย่างไรว่าเมื่อไรควรต้องไปเติมเงิน ?
    • 1)ป้ายบอกอัตราค่าผ่านทางที่ด่าน จะแจ้งค่าผ่านทางของการเดินทางครั้งปัจจุบัน และยอดเงินคงเหลือ
    • 2)TAG M-Pass บนรถจะมีสัญญาณเตือนดัง 2 ครั้ง

ปัญหาในการใช้งาน M-Pass

  • สาเหตุที่ติด TAG M-Pass แล้วไม้กั้นไม่เปิด
    • ติด TAG M-Pass ผิดด้าน ที่ถูกต้องคือต้องหันโลโก้ M-Pass เข้าหาตัวผู้ขับ
    • ฟิล์มปรอท หรือฟิล์มมีความหนามาก
    • ประชาชนใช้วิธีการชู TAG หรือไม่แกะ TAG ออกจากกล่อง
    • ควรติด TAG ที่หน้ากระจกด้านบน ไม่รบกวนสายตา ให้เรียบร้อย
    • รถที่มีการดัดแปลง เช่น รถแต่ง 4*4 BIGFOOT
  • ถ้า TAG มีปัญหาต้องทำอย่างไร?
  • สามารถติดต่อได้ที่ ศูนย์ One Stop Service ของกรมทางหลวง ตั้งอยู่ที่ทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 7 (กรุงเทพฯ – ชลบุรี) บริเวณทางแยกต่างระดับลาดกระบัง กม. 21+000 โดยใช้ทางออกสำนักงานบำรุงทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองที่ 2 (แผนที่) และธนาคารกรุงไทย 120 สาขา
  • ถ้าผู้ใช้ทางเข้าใช้ช่อง M-Pass แล้วไม้กั้นไม่เปิด ผู้ใช้ทางควรปฏิบัติอย่างไร?
  • กดปุ่ม Intercom เพื่อติดต่อหอควบคุม โดยจะประสานงานให้พนักงานฯ บริเวณช่องทางเข้ามาให้การช่วยเหลือในทันที
  • ถ้าบัตร M-Pass (e-Money) หาย แต่ TAG M-Pass ยังอยู่ ต้องทำอย่างไร ? มีค่าใช้จ่ายทำบัตรใหม่อีกหรือไม่ ? และ สามารถโอนเงินที่เหลือไปยังบัตรใหม่ได้หรือไม่ ?
    • แจ้งอายัดบัตร M-Pass (e-Money) ได้ที่ 02-111-1111  และแจ้งหาย (แจ้งความ) เพื่อขอรับใหม่ได้ที่ ธนาคารกรุงไทย (สาขาที่กำหนด)
    • เงินที่มีอยู่เดิมในบัตร M-Pass สามารถโอนไปยังบัตร M-Pass ใหม่ โดยจะมีค่าใช้จ่ายในการออกบัตรใหม่ 100 บาท (หนึ่งร้อยบาทถ้วน)
  • ถ้า TAG หาย แต่ บัตร M-Pass (e-Money)ยังอยู่ ต้องทำอย่างไร ? มีค่าใช้จ่ายใหม่อีกหรือไม่ ? และยอดเงินยังคงอยู่หรือไม่ ?
    • แจ้งอายัดบัญชี Tag ได้ที่ 1586 กด 9  และแจ้งหาย (แจ้งความ) เพื่อขอรับ Tag ใหม่ที่ธนาคารกรุงไทย (สาขาที่กำหนด)
    • เงินที่มีอยู่ใน Tagเดิม จะโอนไปไปยัง Tag โดยมีค่าใช้จ่ายการออก Tag ใหม่ 1,000 บาท (หนึ่งพันบาทถ้วน)
  • สาเหตุที่ติด TAG M-Pass แล้วไม้กั้นไม่เปิด ?
    • ติด TAG M-Pass ผิดด้าน
      ที่ถูกต้องคือต้องหันโลโก้ M-Pass เข้าหาตัวผู้ขับ
    • ฟิล์มปรอท หรือฟิล์มมีความหนามาก
    • ประชาชนใช้วิธีการชู TAG หรือไม่แกะ TAG ออกจากกล่อง
      ควรติด TAG ที่หน้ากระจกด้านบน ไม่รบกวนสายตา ให้เรียบร้อย
    • รถที่มีการดัดแปลง เช่น รถแต่ง 4*4 BIGFOOT